ในช่วงนี้บางภูมิภาคเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว (บางทีอาจจะยังเป็นหน้าร้อนหน้าฝนอยู่) นอกจากอากาศจะเย็นลงแล้วยังมีความแห้งตามมาด้วยซึ่งอาจทำให้มีอาการหลายๆอย่างตามมา เช่น ผิวแห้งตึง คัน ผิวหยาบกร้าน เป็นแผลจากความแห้งและการเกา นอกจากนี้ผิวหนังที่มีปัญหาขนคุด (KP) จะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ซ้ำร้ายคือการอาบน้ำอุ่นเป็นตัวการที่ทำให้ผิวแห้งโดยตรง เนื่องจากน้ำอุ่นสามารถชะล้างชั้นไขมันที่เคลือบผิวตามธรรมชาติออกไป ไขมันที่ว่านี้มีหน้าที่สำคัญในการเคลือบผิวเพื่อป้องกันมิให้น้ำในเซลล์ผิวระเหยออก การชะล้างด้วยน้ำอุ่นเป็นเวลานานจึงให้ผลคล้ายกับการชำระล้างผิวด้วยสบู่หรือผลิตภัณฑ์ชะล้างที่เป็นด่าง ผลที่ตามมาคือความแห้งของผิวภายหลังการอาบน้ำ
ฉะนั้นคำตอบสำหรับคำถามคือ "อาจจะจริง" แต่เราสามารถลดปัญหาได้ด้วยคำแนะนำเหล่านี้ครับ
คำแนะนำสำหรับการอาบน้ำอุ่น
1. อาบน้ำที่อุณหภูมิห้อง (ในฤดูปกติ 28-30 องศาเซลเซียส )
2. ในกรณีฤดูหนาว (หนาวแบบไทยๆ) ให้อาบน้ำอุ่นให้อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้องแต่ไม่ควรเกิน 34 องศาเซลเซียส ยิ่งต่ำยิ่งดี
3. สำหรับผู้ที่อยู่ต่างประเทศอากาศหนาวจัด ไม่ควรอาบน้ำอุณหภูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส และไม่ควรเปิดน้ำจากฝักบัวผ่านนานเกิน 5 นาที เพราะจะเป็นการชะล้างไขมันที่เคลือบผิวออกมากเกินไป
4. ถ้าผิวแห้งและมีอาการคัน อย่าเกาเด็ดขาด ให้หามอยเจอร์ไรเซอร์มาทาบ่อยๆ แล้วอดทนซักพักอาการจะดีขึ้นเอง
แม้ว่าการอาบน้ำอุ่นท่ามกลางอากาศหนาวเย็นจะให้ความรู้สึกที่ "ไม่อยากจะหยุดอาบ" ก็ต้องฝึนใจนิดนึงนะครับ ภายหลังการอาบน้ำแล้วซับผิวให้พอหมาดและรีบทามอยเจอร์ไรเซอร์ทันที สำหรับบริเวณผิวที่มีปัญหาขนคุดก็ทาด้วยโลชั่น KP-CLEAR ทันที เช่นกัน
ส่วนใครยังไม่หนาว ก็ขอให้อดทนครับ ระหว่างนี้ก็บ่นกรมอุตุคลายร้อนไปพลางๆก่อนได้ครับ