top of page
รูปภาพนักเขียนKp-Clear Blog Team

สครับหรือไม่สครับ


เป็นข้อถกเถียงกันมานานว่า เราควรจะขัดผิวรึเปล่า โดยเฉพาะในกรณีคนที่มีปัญหาขนคุด ขนไม่สามารถแทงขึ้นมาบนชั้นผิวได้ ถ้าเราไปขัดผิวแล้วจะช่วยให้ขนแทงขึ้นมาได้รึเปล่านะ?



การขัดผิว (scrub) การขัดผิว ไม่ว่าจะขัดด้วยวัสดุธรรมชาติ (เช่น ผลึกน้ำตาล ทราย เกลือ กากเมล็ดกาแฟ ใยบวบ หินขัดขี้ไคล) หรือวัสดุสังเคราะห์ (ใยขัดตัว เม็ดบีด) ค่อนข้างจะเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับการอาบน้ำทำความสะอาดโดยทั่วไป นอกจากจะช่วยขัดขี้ใครให้ผิวสดใสแล้วยังผ่อนคลายอีกด้วย อย่างไรก็ตามในกรณีของผู้ที่มีปัญหาผิวหนังแบบ Keratosis pilaris (KP) ที่มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ มักจะได้รับคำแนะนำว่า "ไม่ควรขัดถูผิวหนังรุนแรง" แม้ว่าการขัดถูนั้นอาจช่วยให้เคราตินส่วนเกินหลุดออก และทำให้ผิวหนังรู้สึกเรียบลื่นในทันที่ (คล้ายกับการใช้มีดโกนขูดผิวหนัง จะรู้สึกเรียบเนียนในทันที) แต่ผลที่ตามมาอาจไม่คุ้มค่านัก เพราะจะเป็นการก่อกวนให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองและกระตุ้นให้สร้างเคราตินออกมาปกคลุมมากยิ่งขึ้น อาการขนคุดจึงทวีความรุนแรงมากขึ้น และตามด้วยผลข้างเคียงที่เกิดจากการขัดถู คือ อาการแห้งคันอันเนื่องจากการชะล้างมอยเจอร์ไรเซอร์ตามธรรมชาติบนผิวหนังออกไป (lipid barrier) และอาจเกิดการอักเสบ บวมแดง หรือติดเชื้อสำหรับบริเวณที่มีบาดแผลขนาดเล็ก จากการขูดขีด


หลายๆคนอาจจะได้รับคำแนะนำประเภทว่าให้ขัดผิว จนขนหลุดออกมาได้ (โดยมากเป็นคำแนะนำจากหนังสือแฟชั่น) อย่างไรก็ตาม เราค้นพบว่าการขัดให้ขนหลุดออกมาได้นั้น 99% แทบจะไม่เกิดขึ้น ยกเว้นกรณีที่ขนอยู่ตื้นมากๆ นอกจากนั้นอาการขนคุดมักจะมีตุ่มโผล่ขึ้นมา เมื่อขัดผิว แรงขัดก็จะไปเน้นอยู่เฉพาะจุด (ดูภาพด้านบนสุดเลย) ทำให้ยิ่งเกิดการอักเสบหรือกระตุ้นให้เกิดรอยแดงดำจากการขัดถู #ไม่ขัดแล้วทำอย่างไร การใช้ผลิตภัณฑ์ KP-Clear Lotion เป็นประจำจะเป็นการค่อยๆ เร่งกระบวนการผลัดเซลล์ผิวและกำจัดชั้นเคราตินออกไปคล้ายกับกลไกตามธรรมชาติ ในระหว่างการอาบน้ำแนะนำให้ใช้ KP-Clear Wash ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่ออกแบบมาให้เสริมประสิทธิภาพการผลัดเซลล์ผิว เพียงแค่ฟอกบริเวณที่มีปัญหา ถูวนเบาๆ ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที แล้วล้างออก เซลล์ผิวที่ตายแล้วและชั้นเคราตินที่อ่อนนุ่มจะหลุดออกในขณะที่อาบน้ำ โดยไม่จำเป็นต้องขัดถูให้เกิดการระคายเคือง ในกรณีที่รู้สึกอยากจะขัดผิวจริงๆ ขอแนะนำให้ใช้ฟองน้ำสำหรับเด็กแทน แต่ต้องระมัดระวังเรื่องการสะสมของจุลินทรีย์ในฟองน้ำ (หรือวัสดุขัดผิวทุกชนิด) เพราะจะเป็นสาเหตุของการอักเสบติดเชื้อตามมา สรุป: อย่าขัด #จบข่าว


bottom of page