top of page
รูปภาพนักเขียนKp-Clear Blog Team

เป็นขนคุดจะแช่ออนเซ็นที่ญี่ปุ่นได้ไหมนะ



ทุกคนก็ทราบดีอยู่แล้วว่าการอาบน้ำเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติทุกวัน แต่เมื่อมีโอกาสพิเศษๆ ที่จะได้ไปเที่ยวญี่ปุ่นก็ต้องไม่พลาดในการแช่ในบ่อน้ำร้อนซักหน่อย แต่…. ถ้าเรามีปัญหาขนคุดล่ะ! นอกจากเรื่องความมั่นใจในการเผยผิวแล้ว ยังจะมีปัญหาอื่นๆ ต่อสุขภาพผิวหรือไม่ หรือแร่ธาติในบ่อน้ำร้อนจะช่วยรักษาอาการขนคุดให้ผิวเนียนสวยแบบคนญี่ปุ่นได้ไหม?


วันนี้เรามารู้จักการปฏิบัติตนเมื่อต้องลงแช่ออนเซ็นกัน!

ก่อนอื่นต้องรู้จักสถานที่อาบน้ำนอกบ้านของชาวญี่ปุ่นซึ่งก็มีทั้งแบบที่เรียกว่า เซ็นโต และ ออนเซ็น


ออนเซ็น (Onsen) หรือ บ่อร้ำร้อนธรรมชาติ

#เซ็นโตหรือออนเซ็น เซนโต คือ ห้องอาบน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ที่ผู้คนมักจะใช้บริการกันมากทั้งผู้หญิงและผู้ชาย มีลักษณะเป็นอ่างโอฟุโระขนาดใหญ่ที่มีน้ำร้อนใส่อยู่ ซึ่งน้ำร้อนนี้อาจเป็นน้ำปะปาก็ได้พบได้ในโรงแรมในเมืองทั่วไป ในขณะที่ ออนเซ็น คือ น้ำพุร้อนที่มีคุณสมบัติเป็นน้ำแร่ (จะต้องมีชนิดของแร่ธาตุต่างๆ ตามที่กฏหมายกำหนด) ซึ่งจัดเป็นน้ำจากแหล่งธรรมชาติ ความร้อนของน้ำแต่ละแหล่งเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 40 องศา มักพบในรีสอร์ทนอกตัวเมือง การแช่น้ำร้อนมีประโยชน์ในเรื่องของการช่วยให้ผ่อนคลายความเมื่อยล้า ช่วยให้โลหิตหมุนเวียน ลดความเครียด และแร่ธาตุในน้ำธรรมชาติบางชนิดช่วยบำรุงผิว แต่เมื่อได้ชื่อว่า “น้ำร้อน” ย่อมต้องไม่เหมาะกับผิวแห้งโดยเฉพาะผิวที่มีปัญหาขนคุด เพราะน้ำร้อนจะชะเอาชั้นไขมันที่ปกคลุมผิวตามธรรมชาติออกไป มีความเสี่ยงต่อการกำเริบของอาการขนคุด แต่ถึงกระนั้นก็มิได้หมายความว่าต้องห้ามลงแช่น้ำร้อนเสียทีเดียว



เซ็นโต(Sento) หรือห้องอาบน้ำสาธารณะในร่ม

หลักปฏิบัติของผู้มีปัญหาขนคุดในการแช่น้ำร้อนในออนเซ็นก็เหมือนกับ หลักปฏิบัติทั่วไป คือ


- ไม่ควรแช่ออนเซ็นทันทีหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ ควรห่างจากมื้ออาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนค่อยลงแช่ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ทั้งก่อนและขณะลงแช่


- อาบน้ำตามปกติให้สะอาดก่อนลงแช่ในบ่อน้ำร้อน สำหรับผู้มีปัญหาขนคุดแนะนำให้ใช้ Kp-Clear Wash เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว ไม่ควรใช้สบู่ก้อนหรือสบู่เหลวที่เป็นด่างในการฟอกถูตัว และไม่ควรขัดผิวอย่างรุนแรง


- ผู้ที่แช่น้ำครั้งแรกแนะนำว่าไม่ควรแช่นานเกิน 15 นาที และผู้ที่เคยชินแล้วก็ไม่ควรแช่เกิน 30 นาที และไม่ควรแช่เกินวันละ 3 ครั้ง


- ในระหว่างที่แช่น้ำร้อนหากมีเหงื่อออกมามาก ใจเริ่มเต้นเร็วขึ้น หรือร่างกายอ่อนเพลียควรออกจากบ่อทันที


- หลังการแช่น้ำร้อนแล้ว ควรสลับด้วยการแช่น้ำเย็นที่อุณหภูมิ 16-17 องศาเซลเซียส เพราะหลังจากที่ น้ำร้อนได้เปิดรูขุมขนแล้ว น้ำเย็นจะช่วยปิดรูขุมขน ให้ผิวตึงกระชับ ยืดหยุ่น นุ่มนวลพร้อมปรับสมดุลในร่างกาย ให้ระบบเลือดหมุนเวียนได้ดี และยังทำให้รู้สึกสดชื่น มีชีวิตชีวา


- หลายๆออนเซ็นอาจจะมีกำมะถันในน้ำตามธรรมชาติ สังเกตุได้จากกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ซึ่งอาจมีคำแนะนำว่าช่วยเรื่องโรคผิวหนังได้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันอะไร และกำมะถันไม่ได้ช่วยให้อาการขนคุดดีขึ้น ฉะนั้นอย่าคาดหวังผลการรักษาอะไรจากการแช่น้ำร้อน


- สุดท้าย สำคัญมาก เมื่อแช่เสร็จแล้วไม่ควรอาบน้ำฟอกสบู่ซ้ำอีกเพราะจะทำให้ผิวแห้งมาก ควรเช็ดตัวให้หมาด และทา Kp-Clear เพื่อป้องกันการเกิดขนคุดจากภาวะผิวแห้ง


และขอเน้นย้ำว่าขนคุดไม่ใช่โรคติตต่อ ดังนั้นจึงสามารถ ว่ายน้ำและอาบน้ำในที่สาธารณะได้ อย่างไรก็ตามการเดินทางไปญี่ปุ่นหรือประเทศอื่นๆ ในช่วงฤดูหนาว แม้จะไม่ได้มีการแช่น้ำร้อนก็ตาม ก็อาจเกิดภาวะขนคุดกำเริบได้ ดังนั้นจึงควรใช้ผลิตภัณฑ์ KP-Clear อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ

Kommentare


bottom of page