top of page
รูปภาพนักเขียนKp-Clear Blog Team

aspirin ดูแลผิว ชัวร์หรือมั่วนิ่ม



aspirin รักษาขนคุด

หลายคนที่ชอบค้นหาวิธีแปลกใหม่ในการดูแลผิว อาจจะเคยได้ยินวิธีการดูแลผิว หรือการแก้ปัญหาขนคุดด้วย aspirin ใช่แล้วครับ ยาแก้ปวดหัวนั่นแหละครับ แต่มันจะใช้ได้จริงหรือหลอก จะเป็นยาวิเศษหรือแค่กระแสนิยมที่ไม่ตั้งอยู่บนวิธีการทางวิทยาศาสตร์กันแน่

มั่วล้วนๆหรือมีความจริงอยู่บ้าง

Aspirin masks เป็นกระแสนิยมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการดูแลผิวด้วยตนเอง โดยการนำเม็ดยามาบน ผสมน้ำ และพอกหรือขัดถูผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นขนคุด บางคนอาจจะคิดว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านล้วนๆ แต่จริงๆแล้ว aspirin มันโครงสร้างเคมีคล้ายกับ ฺBHA ประเภทหนึ่ง(Salicylic Acid) ซึ่งนิยมใช้ในเครื่องสำอาง แต่การนำเม็ดยา Aspirin มาบดแล้วละลายน้ำ จะให้ผลเหมือนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรด Salicylic หรือไม่

Salicylic acid เป็น Beta-hydroxy acid (BHA) ที่มีฤทธิ์ช่วยสลายเคราติน (keratolytic agent) บนผิวหนัง ซึ่งช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว ฤทธิ์, สลายคอมิโดน (comedolytic), ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ( anti-inflammatory) และมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย (anti-bacterial) จึงพบว่ามีการเติม Salicylic acid เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และเวชสำอาง

Aspirin เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นยาแก้ปวด (analgesic) และลดไข้ (antipyretic) มีโครงสร้างเคมีเป็น acetylsalicylic acid ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับ salicylic acid มาก โดยต่างกันที่ Aspirin มีการเติมหมู่ Acetyl เพิ่มที่ตำแหน่ง Hydroxyl ด้วยเหตุนี้ Aspirin จึงไม่ใช่สมาชิกของกรด Beta-hydroxy acid (BHA) [#ดูความคล้ายคลึงได้ที่ภาพประกอบ]

เมื่อรับประทานยา Aspirin และร่างกายดูดซึมแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีของยาเพื่อลดความเป็นพิษลงที่ตับ โดยใช้เอนไซม์ acetylsalicylate deacetylase เพื่อสลาย Aspirin ให้กลายเป็น salicylic acid นั่นเอง

ด้วยโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับ salicylic acid จึงมีกระแสการประยุกต์ใใช้ Aspirin เพื่อการลอกผิวแบบทำเอง (homemade peeling) หรือการทำ DIY Aspirin mask* ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว Aspirin ที่พอกบนผิวหนังไม่สามารถกลายเป็น salicylic acid ได้ เนื่องจากบนผิวหนังไม่มีเอนไซม์ acetylsalicylate deacetylase

*DIY = Do It Yourself

หมายความว่า Aspirin mask ไม่มีผลอะไรเลยหรือ ?

ไม่เสมอไป ! คุณสมบัติของ Aspirin ที่ช่วยต้านการอักเสบยังคงมีอยู่แม้ว่าจะเป็นการทาที่ผิว และจุดสำคัญคือ Aspirin เป็นกรดจึงออกฤทธิ์ผลัด เซลล์ผิวได้ แต่เนื่องจาก Aspirin มีหมู่ acetly ซึ่งในทางทฤษฏีจะต้องมีฤทธิ์น้อยกว่า salicylic acid (แต่ทั้งนี้ประสิทธิภาพของ Aspirin และ salicylic acid ขึ้นกับความเข้มข้น, ค่า pH ของสารละลายที่เตรียม และระยะเวลาที่สัมผัส)

การนำเม็ดยา Aspirin มาบดและละลาย เพื่อพอกโดยหวังผลเพื่อการผลัดเซลล์ผิว จึงอาจได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไป โดยธรรมชาติแล้ว Aspirin จะสามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ หรือน้ำมัน เช่นเดียวกับ salicylic acid ในขณะที่การทำละลายในน้ำกรด pH 2-3 ซึ่งนิยมใช้น้ำมะนาวเป็นตัวทำละลาย แม้จะทำให้ Aspirin อยู่ในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ แต่อาจมีการระคายเคืองมากยิ่งขึ้น การเตรียมที่ไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสมหากเตรียมความเข้มข้นสูง หรือเป็นกรดมาเกิดไป ผนวกกับการพอกทิ้งไว้นาน อาจส่งผลให้ผิวหนังระคายเคืองและไหม้ได้

สรุป

เป้าหมายในการสร้างกรด Salicylic จาก Aspirin นั้นไม่น่าทำได้ ต่อให้เกิดขึ้นมาบ้างก็น้อยมากจนไม่น่าให้ผลอะไร ขณะเดียวกันหากใช้วิธีอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่ง BHA อาจได้ผลที่ต้องการ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่สามารถควบคุมปริมาณและความเข้มข้นได้ กลับกลายเป็นเหมือนการเอาสารเคมีอะไรที่ไม่ทราบความเข้มข้นและส่วนผสมแน่นอนมาถูกับผิวของเรา ในกรณีคนมีอาการขนคุด การขัดถูอาจทำให้อาการแย่ขึ้น

แม้จะสรุปว่าไม่คุ้ม แต่ไม่ใช่ว่าจะบอกว่าไม่มีประโยชน์ซะทีเดียว ขอให้ระลึกเสมอว่า aspirin mask อาจไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน บุคคลที่ไม่ควรสัมผัส aspirin ได้แก่เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ที่แพ้ aspirin


bottom of page